กิจวัตรประจำวันเด็กทารกวัย 0-1

กิจวัตรของทารก, กิจวัตร, กิจวัตรประจำวันของทารก, การนอน, การอาบน้ำ, การกิน, การเล่น, การเปลี่ยนผ้าอ้อม, วิกิเด็กวัย 0-1 ปี, สารานุกรม, การเลี้ยงดูเด็กวัย 0-1 ปี, ทารกแรกเกิด, ทารก, นมแม่, พัฒนาการเด็ก, อาหารทารก, สุขภาพทารก

แม้พัฒนาการของวัยแบเบาะแต่ละคนจะคลาดเคลื่อน ช้า เร็วไปบ้างไม่เท่ากัน แต่กิจวัตรประจำวันของลูกวัยขวบแรกก็ล้วนวนเวียนอยู่แต่กับกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะลงตารางเวลาส่วนตัวของลูกด้วยกันได้ เพื่อสร้างวินัยให้เจ้าหนูตั้งแต่วัยแรกเริ่ม

http://blog.cornerstorkbabygifts.com/index.php/2008/12/08/spa-tub-or-just-a-baby-bath-in-a-bucket/
กิจวัตรที่ 1 : การอาบน้ำ
นอกจากความสะอาดหอมสดชื่นที่เขาได้รับแล้ว ยังจะได้รับความรู้สึกผูกพันและสัมผัสรักอีกด้วย เมื่อคุณแม่เอามือถูลูบไล้ตัวเขา พูดจาหยอกล้อหยอกเอิน ร่วมกับอุณหภูมิของน้ำที่กำลังสบายไม่ร้อนไม่เย็นเกินไป ถือเป็นเวลาที่ผ่อนคลายและสบายที่สุดยามตื่นนอนเลยเชียว ตัวเสริมกิจวัตรประจำวัน ได้แก่
        • ที่เป่าฟองสบู่เลยค่ะเด็ดดวงที่สุด พ่วงเดียวก็ทำให้การอาบน้ำของเขาเป็นเรื่องสนุกได้ เพราะเจ้าหนูจะได้ฝึกสายตาในการมองตามฟองสบู่จนเพลิน ทำให้คุณแม่อาบน้ำเขาได้ง่ายขึ้นแถมได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้วยการไขว่ขว้าและตีฟองสบู่ให้แตก ลองสังเกตตอนฟองสบู่ลอยล่องให้ดีๆ สิ เจ้าหนูตื่นเต้นใหญ่เชียว
        • ของเล่นในน้ำก็สุดยอดเหมือนกัน เช่น ตุ๊กตาโฟมพลาสติกที่สามารถลอยน้ำได้ หรือแม้แต่ขันใบเล็กๆ ที่เขาได้ตักน้ำเทไปมา แค่นี้ลูกก็สนุกกับการเรียนรู้ได้มากมายและพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือก็แข็งแรงขึ้นด้วย
        • ------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.sheknows.com/parenting/articles/847805/beyond-baby-food
กิจวัตรที่ 2 : การกินอาหาร
        • เด็กวัย 0-6 เดือน : อาหารหลักของลูกวัยนี้คือน้ำนมแม่ ที่นอกจากจะช่วยให้ร่างกายหนูเจริญเติบโต สุขภาพแข็งแรงแล้ว การดูดนมแม่ยังช่วยเสริมพัฒนาการด้านการกลืน การใช้เหงือกคบกัดหัวนมคุณแม่ การใช้ลิ้นดุน ซึ่งแน่นอนว่าลูกจะรู้สึกดีกับหัวนมคุณแม่มากกว่าหัวนมยางแน่นอน เท่านี้เจ้าตัวจ้อยก็จะรู้จักความแตกต่างแล้ว หากเจ้าหนูเขามีความพร้อมมากขึ้น ลองให้เปลี่ยนรสชาติจากน้ำนมเป็นน้ำส้มหรือน้ำแอปเปิ้ลเมื่อล่วงเข้าวัย 4 เดือนแล้ว การรับรู้รสชาติที่มากขึ้นอาจจะทำให้เขาประหลาดใจในตอนแรกๆ แต่ก็จะเริ่มปรับสภาพพร้อมรับกับรสชาติใหม่ๆในชีวิต
        • เด็กวัย 6-12 เดือน : วัยนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้เขากินแต่อาหารเหลวเพียงอย่างเดียว ควรเริ่มอาหารหยาบมากขึ้น เพราะเจ้าหนูจะได้มีพัฒนาด้านการการบดเคี้ยวที่ดี หรือลองทำฟิงเกอร์ฟู้ดด้วยผลไม้ให้ขบกัดเล่นสักนิด รับรองนอกจากจะได้คุณค่าแล้ว ยังแก้คันเหงือกจากฟันขึ้นอีกด้วย เด็กที่กินแต่อาหารเหลวเพียงอย่างเดียว จะเป็นคนกินยากในอนาคตเนื่องจากไม่ได้รับการฝึกการบดเคี้ยวมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง
              • ------------------------------------------------------------------------------------------
http://mooselicker.wordpress.com/2012/07/17/weird-feuds/

กิจวัตรที่ 3 : การเปลี่ยนผ้าอ้อม
เราจะแฝงการเสริมพัฒนาการทำให้ลูกอารมณ์ดีได้ด้วยปากและใบหน้า พูดไปมองหน้าเขาไประหว่างแกะผ้าอ้อม "รอเดี๋ยวนะจ้ะตาหนู เดี๋ยวมามี้แกะเสร็จแล้วเดี๋ยวจะเช็ดก้นให้" พูดคุยกับเขาไปเรื่อยๆ ทีนี้พอตอนหลังเมื่อเขาร้องโยเยเพราะเปียกชื้นอีก เราก็เตรียมตัวพูดไปแกะผ้าอ้อมไปเลย เสียงพูดคุยนี้จะทำให้ลูกคลายโยเยลง เพราะรู้ว่าอีกเดี๋ยวตัวของเขาก็จะแห้งสบายอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน

        • ------------------------------------------------------------------------------------------
  • http://picklebums.com/2011/05/03/activities-for-babies-sparkle-bottle/
    กิจวัตรที่ 4 : การเล่น
    เมื่อเกิดมาหน้าคุณพ่อกับคุณแม่คือของเล่นชั้นดี ลูกจะชอบมองดวงตาที่กระพริบและปากขยับพูด การเล่นกับลูกบ่อยๆ จะทำให้เขาจำหน้าเราได้ พร้อมกับสร้างความไว้ใจเชื่อใจในตัวพ่อแม่ให้เกิดขึ้น โตขึ้นมาอีกนิดเริ่มเป็นวัยคว้าจับ ของเล่นควรเป็นของเล่นพอจับถนัดมือไร้คม มีเสียงกรุ๊งกริ๊งด้วยก็ดี เพราะเมื่อเขาสะลัดสะบัดของเล่น ก็จะฝึกความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้วย ที่สำคัญควรเลือกของเล่นให้หลากหลายทั้งวัสดุ ขนาด และสี เพราะประสบการณ์ยิ่งมากก็ยิ่งพัฒนาดี


        • ------------------------------------------------------------------------------------------
  • http://runningwithscissorsweightlossblog.wordpress.com/2013/04/14/vampires-dont-sleep/
    กิจวัตรที่ 5 : การนอน
    คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักจัดสิ่งแวดล้อมให้ลูก หากอยากให้ลูกแยกเวลากลางวันกลางคืนออกจากกันเป็น ตอนกลางคืนก็ควรจัดแสงไฟในห้องนอน ให้แสงไฟสลัวๆ ไม่มีเสียงอึกทึก ให้เขารู้ว่าเวลานี้เป็นเวลาสงบที่เขาควรนอน

    ที่สำคัญการนอนอย่างเต็มอิ่มจะทำให้ร่างกายหลั่ง Growth Hormone ออกมาด้วย ฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจกังวลว่าลูกนอนพอหรือไม่ ให้สังเกตจากเวลาที่ลูกตื่น หากขึ้นมาร่าเริงแจ่มใสนั่นแสดงว่าเต็มอิ่มแล้ว แต่คนไหนโยเยก็แสดงว่ายังนอนไม่พอ อาจมีสิ่งเร้ากระตุ้นให้เขาตื่น ต้องช่วยจัดการเพื่อให้ลูกหลับสบาย

    คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนตารางกิจวัตรประจำวันของลูกได้ โดยลงเวลาอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งคุณอาจจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของตารางเวลาของลูกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างเช่น เวลานอนน้อยลง มีเวลาเล่นมากขึ้น เป็นต้น

    โดย Momypedia
    ที่มา http://www.momypedia.com

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น