Hormones วัยว้าวุ่น!!! ซีรีส์วัยรุ่นชวนคิด



           ทุกคืนวันเสาร์เชื่อว่าไม่เพียงแต่วัยรุ่นเท่านั้น ทั้งวัยทำงาน หรือคุณพ่อ คุณแม่ หลายๆ คนก็คงกำลังติดตามละครซีรีส์ยอดนิยม Hormones วัยว้าวุ่นที่กำกับโดยผู้กำกับยอดฝีมืออย่าง คุณย้ง -ทรงยศ สุขมากอนันต์ จากเนื้อหาของละครที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตวัยรุ่น ในอีกแง่มุมหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพื่อน ครอบครัว ความรัก หรือแม้กระทั่งเรื่องบุหรี่ ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าสื่อที่มีผู้ชมที่หลากหลายเช่นนี้ ก็ย่อมเกิดความคิดที่หลากหลายเช่นกัน


           คุณปิง -เกรียงไกร วชิรธรรมพร ผู้เขียนบท ไผ่ และวิน บอกว่า ความตั้งใจของซีรีส์เรื่องนี้ คือต้องการถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของวัยรุ่นที่แท้จริงในสังคมปัจจุบัน ตั้งแต่เรื่องความคิด การใช้ชีวิต ปัญหาครอบครัว วัยรุ่นดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ปัญหาเรื่องความรัก จนกระทั่งปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เพื่อให้ บุคคลทั่วไปไม่ใช่เพียงแต่ วัยรุ่นได้เห็นตัวอย่างจากการกระทำ และผลจากจากการกระทำที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตของทุกคน

ภาพจาก facebook/นาดาว 

นักเขียนบทคนดังยังบอกอีกว่า การออกกฎ ห้ามกับวัยรุ่นยุคปัจจุบัน ที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีความคิดเป็นของตัวเอง คงเป็นวิธีที่ยิ่งทำให้มีความรุนแรงขึ้น ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้พูดคุยกันด้วยเหตุผล เพราะการพูดคุยจะสร้างความเข้าใจมากกว่า การต่อว่าหรือ บีบบังคับ

           ด้าน ต่อ -ธนภพ ลีรัตนขจร ผู้รับบท ไผ่ บอกว่า ปัจจุบันวัยรุ่นสามารถเสพสื่อได้หลายรูปแบบหลายช่องทางซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากหากขาดการชี้แนะหรือขาดวิจารณญาณในการรับชม สำหรับตนไม่อยากให้วัยรุ่นทุกคนนำบุคคลในละครซีรีส์ เรื่องนี้ไปเป็นแบบอย่าง แต่อยากให้นำเรื่องราวทั้งหมดมาเป็นสิ่งที่เตือนการกระทำของตนเองไม่ให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นในเรื่อง เพราะชีวิตจริงอาจจะไม่โชคดีเหมือนในละครก็เป็นได้

           ทางด้าน เก้า -สุภัสสรา ธนชาต ผู้รับบท สไปรท์ บอกว่า ตัวละครทุกตัวในเรื่องล้วนเป็นตัวอย่างและให้แง่คิดมากมาย ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อวัยรุ่นเท่านั้นยังเป็นประโยชน์แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองอีกด้วย โดยที่ละครซีรีส์เรื่องนี้เปรียบเสมือนภาพสะท้อนความคิดการกระทำต่าง ๆ ของวัยรุ่นให้ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนที่อาจจะยังไม่เข้าใจได้ทราบถึงสิ่งที่วัยรุ่นยุคนี้เป็น และหันมาให้ความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลานในทางที่ถูกมากขึ้น

           อาจจะมีการทำผิดพลาดพลั้งได้ในทุกเมื่อ สิ่งที่สำคัญคงเป็นอย่างที่ พี่ปิงกล่าวไว้คือ ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทไหนควรดูอย่างมีวิจารณญาณ และใช้ชีวิตอย่างมีวิจารณญาณเช่นกัน

           หากเคยมีคำโบราณกล่าวไว้ว่า ชีวิตจริง ยิ่งกว่าละครซีรีส์ ‘Hormones … วัยว้าวุ่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนปัญหาวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันได้ดี การรับชมละครชุดนี้ จึงไม่เพียงแต่ต้อง ดูอย่างมีวิจารณญาณเท่านั้น หากแต่ต้อง คิดและ ทบทวนกันให้มาก ทั้งผู้ปกครองและวัยรุ่น!


บทความ โดย กิดานัล กังแฮ Team Content
ที่มา www.mnrh.go.th/th/info.php?act=journal&id=45

ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ ปี2556


คำอธิบาย

1. วัคซีนบีซีจี 

    1) ฉีด  0.05-0.1 มล. (ขึ้นกับชนิดของวัคซีน) ในชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย
    2) ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้นและไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีนบีซีจี มาก่อน ให้ฉีดได้ทันที
    3) หากเคยได้รับวัคซีนบีซีจีมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ไม่มีแผลเป็น

2. วัคซีนตับอักเสบบี  
    1) เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างน้อย 3 ครั้งถ้าไม่มีข้อห้ามและเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ  6 เดือน
    2) ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นลบ หรือไม่ทราบ ให้ฉีดวัคซีน จำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และอายุ 6 เดือน
    3) ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
    4) ถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวกแต่ไม่มี HBIG ควรให้วัคซีนครั้งที่ 1 ภายใน 12 ชม. หลังคลอด  ครั้งที่ 2 และ 3 ให้เมื่ออายุ 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
    5) ในกรณีที่มาทราบภายหลังว่ามารดามี HBsAg เป็นบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าทารกได้รับวัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วัน
    6) ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด(หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้ โดยถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวก และทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีแบบเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย (รวมเป็น 5 ครั้ง)
    7) ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ  ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่
    8) เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของโรค (HBsAg +) อาจพิจารณาให้ตรวจ HBsAg และ anti-HBs เมื่ออายุประมาณ

3. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน 
    1) สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์ (DTaP) แทนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ได้ทุกครั้ง
    2) หากใช้ DTaP ควรใช้ชนิดเดียวกันทั้งสามครั้งเมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน หากไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ให้ใช้ชนิดใดแทนก็ได้
    3) สำหรับเข็มกระตุ้นที่ 18 เดือน  อาจใช้ DTwP หรือ DTaP ชนิดใดก็ได้
    4) เมื่ออายุ 4-6 ปี อาจใช้ DTwP, DTaP หรือ Tdap ก็ได้
    5) เด็กอายุ 11-12 ปี ควรได้รับการฉีด Td หรือ Tdap ไม่ว่าจะเคยได้รับ Tdap เมื่ออายุ 4-6 ปี มาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี
    6) สำหรับการฉีดกระตุ้น Td ทุก 10 ปี ในผู้ใหญ่ ควรพิจารณาใช้ Tdap แทน Td หนึ่งครั้ง

4. วัคซีนโปลิโอ 
    1) สามารถใช้ชนิดฉีด (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรูปของวัคซีนรวมกับคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน) แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
    2) หากใช้ชนิดฉีดอย่างเดียวโดยตลอด อาจให้เพียง 4 ครั้ง โดยงดเมื่ออายุ 18 เดือนได้
    3) หากใช้ชนิดกินสลับกับชนิดฉีด ต้องให้ 5 ครั้งตาม OPV
    4) การให้วัคซีนโปลิโอมากกว่าที่กำหนด ไม่มีข้อเสีย และสามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้

5. วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม  
    1) ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 -12 เดือนขึ้นไป และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี โดยควรพิจารณาให้ฉีดเร็ว (อายุ 9 เดือน) ในที่ที่ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และควรฉีดช้า (อายุ 12 เดือน) ในที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อยในเด็กต่ำกว่า 1 ปี
    2) การฉีดเข็มที่ 2 อาจให้ได้ตั้งแต่อายุ 2 ½ ปี ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข (จากการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 1-2556 วันที่ 28 มกราคม 2556)
    3) ในกรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มสองเร็วขึ้นก่อนอายุ 4 ปีได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    4) ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ในทุกครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อน อย่างน้อย 1 เดือน และห่างจากวัคซีน VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

6. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี  
    1) วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine) ปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ mouse-brain derived vaccine (MBV) ซึ่งอยู่ในแผนฯ ของกระทรวงสาธารณสุข และสายพันธุ์ P3 เพาะเลี้ยงใน vero cell (JEVAC®) ทั้งสองชนิดฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 9-18 เดือน เข็มต่อมา อีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปีตามลำดับ และสำหรับ MBV อาจพิจารณาให้ฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้งห่างจากเข็ม 3 อย่างน้อย 4-5 ปี
    2) วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ใช้สายพันธุ์ SA 14-14-2 ให้ฉีด 2 ครั้ง มี 2 ชนิด คือ CD-JEVAX® เริ่มฉีดที่อายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 3-12 เดือนต่อมา อีกชนิดคือ Chimeric JE (IMOJEV®)  เริ่มฉีดที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 12-24 เดือนต่อมา  สามารถใช้วัคซีนชนิด live JE แทนชนิด MBV ได้ ทั้งในการฉีดชุดแรก และการฉีดกระตุ้น
    3) ยังไม่มีข้อมูลการใช้ live JE ต่างชนิดทดแทนกัน
    4) ในกรณีที่เคยได้รับ MBV มาก่อน และต้องการฉีดต่อด้วย live JE vaccine ให้พิจารณาฉีดตามตาราง

ประวัติการฉีดวัคซีน MBV ในอดีตข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน live-attenuated JE
1 เข็มฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-24 เดือน (แล้วแต่ชนิดของวัคซีน)
2-3 เข็มฉีด 1 เข็ม ห่างจากเข็มสุดท้าย 1 ปี
> 4 เข็มไม่จำเป็นต้องฉีดอีก

http://blogs.terrapinn.com/vaccinenation/2012/09/11/development-solid-injectable-formulations/


7. วัคซีนฮิบ 
    1) ปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิด คือ conjugate กับ PRP-T และ HbOC ในเด็กไทยแนะนำให้ 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน
    2) การฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กแข็งแรง แต่ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง
    3) ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮิบในเด็กปกติที่อายุ 2 ปีขึ้นไป
    4) หากเริ่มฉีดช้า ให้พิจารณาฉีดตามตาราง

      อายุที่เริ่มฉีดเดือนที่ของการฉีด PRP-T, HbOC
     2-6  เดือน0, 2, 4, ฉีดกระตุ้นอายุ 12-18 เดือน 
     7-11 เดือน0, 2, ฉีดกระตุ้นอายุ 12-18 เดือน 
     12-24 เดือน เข็มเดียว
     > 24 เดือน เฉพาะผู้ที่เสี่ยง*    0, 2

หมายเหตุ อาจไม่จำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นในเด็กไทย *ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคฮิบ เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มก้นบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ

8. วัคซีนตับอักเสบเอ 
    1) มี 2 ชนิด คือ formalin-inactivated vaccine และ virosome vaccine
    2) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน อาจใช้ต่างชนิดได้ในการฉีดแต่ละครั้ง

9. วัคซีนอีสุกอีใส 
    1) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกอายุ 12-18 เดือน
    2) อาจพิจารณาให้ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี อาจฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปีได้ในกรณีที่มีการระบาด โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    3) พิจารณาให้ฉีดวัคซีนนี้แก่เด็กทุกคนที่อายุมากกว่า 1 ปีที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส
    4) ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
    5) ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ในทุกครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อน อย่างน้อย 1 เดือน และห่างจากวัคซีน VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

10. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 

    1) พิจารณาให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 18 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง เช่น เด็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (รวมหอบหืด) โรคหัวใจ โรคอ้วนที่มี BMI > 35 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรัง เป็นต้น
    2) ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดในครั้งแรกต้องฉีดสองเข็มห่างกัน 1 เดือน ในกรณีที่ปีแรกได้ฉีดไปเพียงครั้งเดียว ปีถัดมาให้ฉีดสองครั้ง จากนั้นจึงสามารถฉีดปีละครั้งได้
    3) ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง (0.25 มล.)

11. วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต 
    1) ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ชนิดรุกราน (invasive disease) หรือรุนแรง (severe) ดังตารางและในเด็กแข็งแรงปกติที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ประสงค์จะป้องกันโรค
    2) ในปัจจุบันมีวัคซีน ชนิด 10 สายพันธุ์ (PCV10) และ 13 สายพันธุ์ (PCV13) ให้ 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นที่อายุ 12-15 เดือน โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน หากเริ่มฉีดช้าให้ฉีดตามตาราง
    3) ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ในกรณีที่ได้มีการฉีดวัตซีน PCV7 ครบแล้ว 4 ครั้ง พิจารณาให้ฉีด PCV13 อีก 1 ครั้ง ห่างจาก PCV7 เข็มสุดท้ายอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เพิ่มเติมขึ้น

อายุที่เริ่มฉีดจำนวนครั้งที่ฉีดการฉีดกระตุ้น
2-6 เดือนPCV 3 ครั้ง ห่างกัน 6-8 สัปดาห์PCV 1 ครั้ง อายุ 12-15 เดือน
7-11 เดือนPCV 2 ครั้ง ห่างกัน 6-8 สัปดาห์  PCV 1 ครั้ง อายุ 12-15 เดือน
12-23 เดือนPCV 2 ครั้ง ห่างกัน 6-8 สัปดาห์ไม่ต้องฉีด
เด็กปกติ 24-59 เดือนPCV10 ให้ 2 ครั้ง PCV13 ให้ 1 ครั้งไม่ต้องฉีด
-เด็กเสี่ยง *อายุ 24-71 เดือน
-> 71 เดือน   
PCV13 2 ครั้ง ห่างกัน 8 สัปดาห์
PCV13 1 ครั้ง
ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1 เข็มห่างจาก PCV
เข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์

หมายเหตุ:
- PCV = Pneumococcal conjugate vaccine, PS-23 = 23-Valent pneumococcal polysaccharide vaccine
- *เด็กเสี่ยง คือเด็กที่มีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสอย่างรุนแรงมากกว่าเด็กปกติ ได้แก่เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากสาเหตุต่างๆ ภาวะไม่มีม้าม ธาลัสซีเมืย โรคเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต เบาหวาน และโรคที่เสี่ยงต่อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น CSF leak, cochlear implantation
- สำหรับเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันไม่จัดในกลุ่มเสี่ยงแต่อาจพิจารณาให้วัคซีนได้
- *ในเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ควรได้รับวัคซีน PCV13 ดังตาราง และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรให้ฉีดวัคซีน PS-23 ด้วยเสมอ ไม่ว่าจะสามารถฉีด PCV ได้หรือไม่ก็ตาม และหากเป็นเด็กเสี่ยงประเภท ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะไม่มีม้าม หรือธาลัสซีเมีย ควรฉีด PS-23 ซ้ำอีก 1 ครั้ง ห่างจากครั้งแรก 5 ปี การฉีด PCV ก่อน แล้วตามด้วย PS-23 จะให้ผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการฉีด PS-23 เพียงอย่างเดียว หรือฉีด PS-23 แล้วตามด้วย PCV
-ในเด็กปกติ อาจพิจารณาให้ฉีดแบบ 2+1 (รวมเป็นการฉีด 3 ครั้ง) คือฉีดเมื่ออายุ 2, 4, และ 12-15 เดือน

12. วัคซีนโรต้า
    1) ชนิด monovalent ให้กิน 2 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน
    2) ชนิด pentavalent ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน
    3) วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน โดยแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
    4) ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ แต่หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
    5) สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
    6) ห้ามใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency (SCID) และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน

13. วัคซีนเอชพีวี 
    1) มี 2 ชนิดคือ ชนิด 2 สายพันธุ์ (bivalent มีสายพันธุ์16, 18) และชนิด 4 สายพันธุ์ (quadrivalent มีสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18)
    2) แนะนำให้ฉีดในหญิง อายุ 9-26 ปี (เน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี) โดยฉีด 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1-2, และ 6
    3) ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
    4) การฉีดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 26 ปี อาจพิจารณาให้ได้เป็นกรณีๆไป
    5) การฉีดในเด็กผู้ชาย พิจารณาให้ฉีดเฉพาะชนิด 4 สายพันธุ์ ในช่วงอายุ 9-26 ปี โดยเน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี และในกลุ่มชายรักชายอายุ 9-26 ปี

ที่มา : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

 Credit picture : http://science.cabot.ac.uk/?p=783

10 วิธีเตรียมตัว "งดเหล้า" ก่อนเทศกาลเข้าพรรษา


เนื่องในโอกาสเทศกาลวันเข้าพรรษาประจำปี 2556 นี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 23 กรกฎาคมที่จะถึงนี้  จึงขอเชิญชวนคนไทยเข้าร่วมกิจกรรม “งดเหล้าเข้าพรรษา” ทำความดีถวายในหลวงและสมเด็จพระสังฆราช โดยตั้งเป้าว่าจะมีคนไทยมาร่วมกิจกรรมนี้มากขึ้น 10 ล้านคน

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดโรคต่างๆได้มากกว่า 60 โรค เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคโลหิตจาง โรคตับแข็ง โรคหัวใจ  โรคทางสมอง  โรคมะเร็ง  โรคจิตและประสาท  หากผู้ดื่มเป็นหญิงตั้งครรภ์จะทำให้ลูกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อย  มีอาการผิดปกติทางสมอง การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า บางคนถ้าแม่ดื่มแอลกอฮอล์มากอาจทำให้เด็กเกิดมาปากแหว่งเพดานโหว แขนขาเจริญเติบโตผิดปกติ ไอคิวต่ำ สมาธิสั้น 
นอกจากนี้ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำ จะเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง พิษสุราจะทำลายทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ  รวมทั้งเป็นสาเหตุของความรุนแรงภายในครอบครัว ลูกที่มีพ่อหรือแม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจะเป็นเด็กซึมเศร้า วิตกกังวลไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง  ถึงแม้แอลกอฮอล์จะมีผลในการทำลายสุขภาพของผู้ดื่ม ครอบครัวและสังคมก็ตาม  จาการสำรวจยังคงพบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 17 ล้านคน และในจำนวนนี้เกือบ 4 ล้านคนติดแอลกอฮอล์ 
ดร.นายแพทย์พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์  อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวว่า ในโอกาสเข้าพรรษานี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ขอเชิญชวนให้ผู้ดื่มแอลกอฮอล์มาร่วมโครงการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” โดยงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 3 เดือนของการเข้าพรรษา  ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการเลิกดื่มแอลกอฮอล์ตลอดไป แต่การงดแอลกอฮอล์นั้น บางคนสามารถหักดิบ งดได้ทันทีทันได้ “การหักดิบ” สามารถทำได้ในผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ไม่มากนัก

จากงานวิจัยกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหยุดเหล้าในทันที บางรายอาจมีอาการน้อยแค่ตัวสั่น เหงื่อออก บางรายอาจมีอาการหนัก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เป็นพิษสุราเรื้อรัง เรียกอาการลงแดง จะเกิดหลังหยุดสุราได้ 12-72 ชั่วโมง จะมีอาการหงุดหงิด ตัวสั่น วิตกกังวล โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อ่อนเพลีย คิดอะไรไม่ออก หัวใจเต้นเร็ว  กลุ่มนี้ต้องมีการวางแผนการอดเหล้าล่วงหน้าก่อนเข้าพรรษา และปรึกษาหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องสุรา ได้แก่  ฮอตไลน์ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่คิดจะเลิกเหล้า 02 379 1020  สายด่วนยาเสพติดธัญรักษ์ 1165 สายด่วนเลิกเหล้า ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุขภาพทางโทรศัพท์ 1413 โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมทั้งผู้ใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อนต้องให้การสนับสนุนและเข้าใจอารมณ์ต่างๆ ของผู้ที่อยู่ในช่วงงดสุราในระยะเริ่มต้น

การเลิกเหล้าไม่ใช่เรื่องที่ยาก  หากทำตาม 10 วิธีเลิกเหล้า  ได้แก่
1. ตั้งใจจริง 
2. ตั้งเป้าว่าจะเลิกเพื่อใคร 
3. หยุดทันที หักห้ามใจเมื่อตัวเองเข้าสังคม 
4. ปรับเปลี่ยนนิสัยการดื่ม เช่น ดื่มเหล้าพร้อมรับประทานอาหาร  ดื่มน้ำเปล่าคู่กับเหล้า  เปลี่ยนขนาดแก้ว  เป็นต้น  5.ตั้งเป้าลดปริมาณการดื่มในแต่ละวันแต่ละครั้ง     
6. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการไปผับบาร์ สถานบันเทิง หรือเลี่ยงจากกลุ่มดื่มเหล้า 
7. ทำกิจกรรมอื่นแทนการนั่งดื่มสังสรรค์ เช่น เล่นกีฬา ทำบุญ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมที่ชื่นชอบต่างๆ 
8. ฝึกปฏิเสธให้เด็ดขาด เช่น ไม่วางต้องไปทำธุระ หรือหมอห้ามดื่ม 
9. หาที่พึ่งทางใจจากคนรอบข้าง เช่น พ่อ แม่ เพื่อนสนิท คนรัก ลูก 
10. หากเลิกด้วยตัวเองไม่ได้ให้ปรึกษาหน่วยงานที่ช่วยเหลือด้านการอดเหล้า
อย่างไรก็ตาม ช่วงเข้าพรรษานี้ นับเป็นที่พึ่งทางใจที่สำคัญที่จะทำให้เกิดกำลังใจในการอดเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 3 เดือน จึงขอเชิญชวนให้ผู้ดื่มแอลกอฮอล์เริ่มต้นงดดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่เข้าพรรษานี้ หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร 02 590 3333

ที่มา : กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สคร.3 ชลบุรี

คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย

     เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพกับผู้ป่วย ตั้งอยู่บนพื้นฐานเข้าใจอันดีและเป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แพทย์สภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทย์สภา คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ จึงได้ร่วมกันออกประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วยไว้ดังต่อไปนี้

1.ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

2.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ  สัญชาติ  ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย

3.ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตนเว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น

4.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณีโดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่

5.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน

6.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้

7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

8.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพ

9.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น

10.บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม  อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิ์ด้วยตนเองได้
.............................................................................................

ระเบียบการเยี่ยม

1) การเฝ้าไข้ผู้ป่วยสามัญ อนุญาตให้ญาติเฝ้าไข้ได้ 1 คน สำหรับห้องพิเศษจำนวน 2 คน
2) การเยี่ยมผู้ป่วยเข้าเยี่ยมครั้งละ 1-2 ท่าน เวลา 10.00 – 21.00 น. ไม่ควรนำเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี    มาเยี่ยมไข้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3) ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้ป่วยคนอื่น
4) ห้ามดื่มสุรา สูบบุหรี่ภายในตึกและบริเวณโรงพยาบาล ยกเว้นบริเวณที่กำหนดไว้
5) ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในตึกผู้ป่วย

**********************************

ระเบียบการปฏิบัติของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใน

1) การสวมเสื้อผ้าของผู้ป่วย ควรสวมเสื้อผ้าของโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกในการดูแลของเจ้าหน้าที่ถ้าต้องการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือผ้าปู หรือต้องการผ้าห่มเพิ่มกรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่
2) ไม่ควรนำทรัพย์สินมีค่า ติดตัวผู้ป่วย เพื่อป้องกันการสูญหาย
3) งดตากผ้า พาดผ้า บริเวณหัวเตียงหรือปลายเตียง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
4) เก็บสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เรียบร้อย
5) อ่างเช็ดตัว กระโถนนอน โถปัสสาวะ เมื่อใช้แล้วกรุณาทำความสะอาดและเก็บไว้ที่ห้องน้ำทันที (ยกเว้นในรายที่แพทย์ต้องการบันทึกจำนวนน้ำเข้า-ออก)
6) การทิ้งขยะ เช่นเปลือกผลไม้ เศษอาหาร ให้ทิ้งในถังขยะเปียก ส่วนขยะแห้ง เช่น กล่องโพม, ขวดพลาสติกถุงพลาสติก ในถังขยะแห้ง
7) เสื้อผ้าที่ใช้แล้วทั่วไป นำทิ้งในถุงผ้าเปื้อน สีขาว ผ้าที่เปื้อนเลือด อุจจาระ ปัสสาวะ ทิ้งถังที่จัดไว้ต่างหาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
8) ผู้มีสิทธิเบิกได้ นำหนังสือส่งตัวจากหน่วยงานต้นสังกัดยื่นที่เค้าเตอร์ตึกผู้ป่วยใน ก่อนกลับบ้าน
9) เมื่อต้องการใบรับรองแพทย์ แจ้งพยาบาลล่วงหน้าก่อนที่จะต้องการใช้ 1 วัน
10) ในรายที่เบิกประกันชีวิต กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ตึกผู้ป่วยในก่อนกลับบ้าน เพื่อติดต่อที่แผนกธุรการต่อไป

**********************************

การบริการอาหาร มี 3 ช่วงเวลา

          เช้า       ช่วงเวลา      07.30 น.
          เที่ยง    ช่วงเวลา       11.30 น.
          เย็น       ช่วงเวลา      16.30 น.
(จะเก็บถาดอาหารหลังแจกอาหารแล้วประมาณ 20 นาที)


**********************************

การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย

1) ให้ญาติเตรียมของเครื่องใช้ส่วนตัวผู้ป่วยมาเอง เช่นแปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัวและผ้าห่มของญาติ
2) ผู้ป่วยและญาติ ควรช่วยกันรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย โดยทิ้งขยะและแยกประเภทขยะลงถังขยะให้ถูกต้อง รวมทั้งรักษาความสะอาดบริเวณโต๊ะผู้ป่วย ห้องน้ำ อ่างล้างมือ
3) ญาติ มีส่วนร่วมในการรักษา โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย และอาการตอบสนองหลังจากการรักษาของแพทย์ ในกรณีที่มีการผลัดเปลี่ยนการเฝ้าไข้ ไม่สามารถอยู่เฝ้าไข้ได้ระยะเวลาหนึ่งควรแจ้งให้พยาบาลทราบ
4) เมื่อมีข้อข้องใจ หรือสงสัย ให้สอบถาม ซักถามได้ทีจากเจ้าหน้าที่ของหอผู้ป่วย ทุกคนยินดีจะตอบข้อซักถาม
5) กรณีผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ กรุณาแจ้งให้พยาบาลทราบทันที ห้องพิเศษกรณีฉุกเฉินกดกริ่งข้างฝาหรือโทรศัพท์ติดต่อเคาน์เตอร์ (กด 320) และ (กด 324)

**********************************

โรคที่พบบ่อยในเด็กวัย 1-3 ปี



kids_momypedia

 

โรคที่พบบ่อยในเด็กวัย 1-3 ปี

โดย Momypedia


โรคอ้วน
โรคอ้วน คือ ภาวะที่ไม่สมดุลระหว่างการได้รับพลังงาน และการใช้พลังงานของร่างกาย โดยการได้รับพลังงานในที่นี้หมายถึงพฤติกรรมการกินของเจ้าหนูที่ไม่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันนั่นเอง

โรคอ้วน
ใน เด็กถือได้ว่าเป็นโรคที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า ‘ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าเด็กไทยอายุ 1-14 ปีจำนวน 540,000 คนหรือร้อยละ 4.7 มีภาวะน้ำหนักเกิน และอีก 540,000 คน หรือร้อยละ 4.6 มีภาวะอ้วน และแม้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ แต่ภาวการณ์กินอย่างไม่เหมาะสม สร้างโรคอ้วนได้มากกว่ากรรมพันธุ์อีก โดยเฉพาะอาหารเหล่านี้
        • อาหาร - อาหารไฮแคลอรี เช่น อาหารฟาสฟู้ดส์ อาหารขนมถุงอบกรอบ อาหารประเภทที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ และอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบมาก เช่น เบเกอรี่ ชีส เนย เป็นต้น
        • เครื่องดื่ม - น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือแม้กระทั่งนมเปรี้ยวก็มีปริมาณน้ำเชื่อมมาก นั่นทำให้มีระดับน้ำตาลที่มากตามไปด้วยครับ

ลักษณะอาการและผลกระทบ

นอกจากสภาพร่างกายที่ดูเจ้าเนื้อขึ้น น้ำหนักขึ้นเกินกว่ามาตรฐานปกติ อาจจะมีสัญญาณบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ปวดข้อเท้า เพราะข้อเท้าต้องรองรับน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป อาการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ เพราะเด็กอ้วนจะมีท่อทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ และเด็กที่เป็นโรคอ้วนจะเหนื่อยง่ายกว่าเด็กปกติอีกด้วย โรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่เล็กๆ โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ


อาหารที่เหมาะสมกับเด็กเพื่อป้องกันโรคอ้วน
        • เนื้อสัตว์ - ควรเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถ้าเลือกได้อาจเป็นเมนูอาหารปลา เพราะเนื้อปลามีไขมันต่ำกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ
        • ไข่ - เด็กๆ ควรกินไข่วันละ 1 ฟอง
        • นม - เด็กสามารถดื่มนมวันละ 2-3 แก้วหรือกล่องได้ แต่ถ้าคนไหนอ้วนอยู่แล้วควรเปลี่ยนมาเป็นนมพร่องมันเนยแทน
        • ไขมัน และน้ำมัน - แนะนำการใช้น้ำมันพืชเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ฯลฯ ยกเว้น น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหารสลับกับการประกอบอาหารด้วยวิธี ต้ม นึ่งบ้าง
        • ข้าวสวย และอาหารแป้งอื่นๆ - เด็กวัยนี้ไม่ควรกินแป้ง หรือข้าวเกิน 6 ทัพพี/วัน
        • ผัก - ควรให้เด็กได้กินพืชผักในปริมาณที่มากๆ หรือประมาณวันละ 1-2 ถ้วยตวง โดยเฉพาะผักใบเขียว และผักอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง กะหล่ำปลี ฯลฯ
        • ผลไม้ - พยายามจัดเมนูให้ลูกได้กินผลไม้สดๆ สักมื้อละ 1 ส่วน (ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่) เช่น ส้มเขียวหวาน 1 ผล หรือเงาะ 4 ผล หรือฝรั่งครึ่งผล (ขนาดกลาง) ฯลฯ

อาหารที่ควรเลี่ยงเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็ก
        • แฮมเบอร์เกอร์
        • โดนัท
        • ไก่ชุบแป้งทอด
        • มันฝรั่งทอด
        • น้ำอัดลม
        • ข้าวโพดอบเนย
        • วุ้นผงสำเร็จรูป และเยลลี่
        • ไอศกรีม
คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอาหารดีต่อสุขภาพ บริโภคให้เหมาะสมตาม ‘ธงโภชนาการ’ หรืออาหารหลัก 5 หมู่ ที่จะบอกกลุ่มอาหารและสัดส่วนการกินอาหารในแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม และถ้าเป็นไปได้ให้ทำอาหาร กินกันเองดีกว่า โดยให้เจ้าหนูช่วยคิดเลือกเมนูว่าวันนี้เขาอยากกินอะไร ซึ่งการทำอาหารเองจะช่วยให้ลดกลุ่มอาหารจำพวกแคลอรี่สูงลงได้ และ ควรสร้างนิสัยการออกกำลังกายที่ดีแก่เด็ก ชวนเจ้าหนูออกกำลังกายสักอาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที โดยเฉพาะการพาไปสนามเด็กเล่น จะช่วยได้มากทีเดียว เพราะลูกจะรู้สึกสนุกด้วย


โรคภูมิแพ้

ร่างกายของคนเราจะมีระบบภูมิต้านทานเพื่อคอยทำหน้าที่ ตรวจหาเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย แล้วขับไล่หรือทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีพร้อมกัน แต่ถ้าภูมิต้านทานเกิดทำงานผิดปกติขึ้นมา ก็จะพาให้เกิดอาการแปลกๆขึ้น โดยทั่ว ไปแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
        • โรคภูมิแพ้ (Allergic Diease) เป็นโรคที่สภาวะของภูมิต้านทานทำงานผิดปกติในเชิงขยันขันแข็งหรือทำงานเร็ว ไป ทำให้ร่างกายเกิดอาการทุกข์ทรมานร่วมไปด้วย เช่น ถ้าเพียงสูดละอองเกสรดอกไม้หรือไรฝุ่นเข้าไป ระบบจมูกกลับมีการทำงานเช่นเดียวกับสูดเชื้อโรคเข้าไป
        • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบภูมิต้านทานประเภทที่ภูมิต้านทานไม่ค่อยทำงาน ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิดและเกิดขึ้นภายหลัง และหนึ่งในนั้นที่เรารู้จักคือ โรคเอดส์ นั่นเอง
        • โรคพุ่มพวง โรคที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองอวัยวะของตัวเองผิดปกติหรือภูมิต้านทานขยัน ทำงานเกินกับร่างกายตนเอง ที่เรียกว่า Autoimmunedisease เช่น โรคเอสแอลอี หรือที่คนรู้จักทั่วไปว่าโรคพุ่มพวง

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ในเด็ก
1. เกิดจากกรรมพันธุ์
        • คุณพ่อคุณแม่คนใดคนหนึ่งเป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ 25%
        • คุณพ่อคุณแม่เป็นภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ 50%
        • คุณพ่อหรือคุณแม่เป็นภูมิแพ้ที่อวัยวะหรือระบบเดียวกัน ลูกจะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ที่อวัยวะและระบบนั้น 75% เช่น พ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ที่ระบบหลอดลม ลูกก็มีโอกาสเป็นที่ระบบหลอดลมถึง 75 %
2. สิ่งแวดล้อมภายนอก 

2.1 สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ถ้าเจ้าตัวเล็กจะต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เป็นระยะเวลานานๆ ก็มีโอกาสเป็นภูมิแพ้ได้
        • การจัดสภาพบ้านที่สะสมไปด้วย ฝุ่น ไรฝุ่น
        • รังแค เศษผิวหนังของแมว สุนัข ขนสัตว์ปีก
        • ของใช้เจ้าตัวเล็ก เช่น ผ้าห่มผืนหนาๆ ที่นอน หมอน ตุ๊กตาขนเยอะๆ ที่สะสมไปด้วยฝุ่น
2.2 ไม่ได้กินนมแม่ นมแม่เป็นตัวสร้างภูมิต้านทานที่ทำงานอย่างเหมาะสม ทำให้เป็นภูมิแพ้น้อยลงแม้ว่าจะมีกรรมพันธุ์เป็นภูมิแพ้อยู่ก็ตาม

โรคภูมิแพ้ที่สามารถเกิดกับ 5 ระบบของร่างกายเด็ก
        • ระบบจมูก มีอาการจามง่าย น้ำมูกใสๆ ไหลอยู่เรื่อยๆ คันจมูกมาก คัดแน่นในจมูกอยู่ตลอดเวลา
        • ระบบหลอดลม หรืออาการของโรคหอบหืด มีอาการไอง่าย ไอมีเสมหะ ขณะออกกำลังกายหรือเจอสิ่งที่กระตุ้นให้แพ้ จะเกิดอาการหลอดลมหดตัวส่งผลให้ หายใจเหนื่อยหอบ
        • ระบบผิวหนัง เช่น อาการคัน เป็นผื่น ผิวหนังแห้ง เป็นขุย มีรอยด่างเกิดจาการเกา ลมพิษ
        • ระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่ระบบภูมิต้านทานของลำไส้ทำงานมากเกิน เช่น แพ้ยา หรือแพ้อาหาร
        • ระบบตา จะมีอาการคันตา ทำให้ขยี้ตาบ่อยจนตาขาวเป็นสีเหลืองๆ หรือเส้นเลือดฝอยเม็ดเล็กๆขึ้นที่ตาขาว น้ำตาไหลง่าย แสบตา ตาสู้แสงไม่ค่อยได้
คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้เมื่อมีลูกไม่จำเป็นต้องพาลูกไปทดสอบภูมิแพ้ทันที ควรรอจนกว่าจะเห็นอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น ลูกจามตอนเช้าทุกวัน หรือไปในที่มีฝุ่นละอองเยอะแล้วคันบริเวณตา มีน้ำมูกส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมูกใส ฯลฯ เมื่อมีอาการแพ้ชัดเจนอย่างนี้ คุณแม่จึงค่อยพาลูกมาทดสอบภูมิแพ้เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

5 อันดับ สารก่อภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
        • อันดับ 1 ไรฝุ่น
        • อันดับ 2 เศษโปรตีนจากแมลงสาบ
        • อันดับ 3 ขนสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข ฯลฯ
        • อันดับ 4 ละอองเกสรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกสรดอกหญ้า
        • อันดับ 5 เชื้อรา

โรคฟัน
ภายในช่องปากเล็กๆ ของลูก มีปัญหาและสิ่งที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวังมากมาย และไม่ใช่เฉพาะฟันอย่างเดียวที่จะต้องดูแล ยังมีโรคในช่องปากอีกมากมายที่คุณอาจจะลืมสังเกตได้
    • ลิ้นเป็นฝ้าขาว - หลังจากลูกกินนมแล้ว หากไม่ทำความสะอาดคราบนมเกาะอยู่ตามสันเหงือก กระพุ้งแก้มก็จะกลายเป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ เกิดฝ้าขาวที่เพดานปาก ลิ้น และฟันผุ ควรดูแลหลังจากดื่มนมทุกครั้งให้คุณแม่ใช้ผ้าสะอาดพันที่นิ้วเช็ดที่บริเวณลิ้น และเพดานปากลูก หรือให้ลูกบ้วนปากเพื่อขจัดคราบนมออกไป
    • ฟันน้ำนมขึ้นไม่ครบ 20 ซี่ - ฟันน้ำนมมีพัฒนาการตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ตอน 6 สัปดาห์ โดยมีการรวมตัวของเนื้อเยื่อเกิดเป็นหน่อฟัน อยู่ภายในบริเวณที่จะเจริญเป็นกระดูกขากรรไกรบน 10 หน่อ และขากรรไกรล่าง 10 หน่อ และถ้าหากหน่อฟันสร้างไม่ครบ 20 หน่อก็จะทำให้จำนวนฟันน้ำนมผิดปกติไป เด็กบางคนมีฟันน้ำนมไม่ครบ 20 ซี่หรือมีฟันแฝดคือ ฟัน 2 ซี่เชื่อมติดกัน คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือรักษาแต่อย่างใด แต่จำนวนฟันที่ไม่เท่ากันอาจมีผลต่อพื้นที่ที่กว้างไม่พอเพียงต่อขนาดของฟัน แท้ที่อยู่ข้างใต้ ทำให้ฟันแท้ขึ้นซ้อนหรือเกได้
    • ฟันน้ำนมผุเร็ว - โรคฟันผุพบในเด็กตั้งแต่อายุก่อน 1 ปี และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเด็กอายุ 1-3 ปี เนื่องจากชั้นเคลือบฟันน้ำนมหนาเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของฟันแท้ ทำให้ฟันน้ำนมผุง่ายกว่าฟันแท้ รวมถึงมีแร่ธาตุแคลเซียมฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบน้อยกว่าฟันแท้ บริเวณโพรงประสาทฟันน้ำนมมีชั้นของเคลือบฟันและเนื้อฟันปกคลุมอยู่บางๆ การผุของฟันน้ำนมจึงลุกลามสู่โพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็ว
การที่ฟันผุตั้งแต่อายุน้อยๆ จะส่งผลให้รักษายาก คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้องกันด้วยการตรวจและดูแลรักษาความสะอาดฟันของลูกตั้ง แต่ลูกอายุก่อน 1 ปี โดยเฉพาะการตรวจคราบจุลินทรีย์หรือขี้ฟัน บริเวณคอฟันของฟันหน้าบน ฟันน้ำนมที่ผุระยะเริ่มต้นจะลุกลามไปเป็นรูผุได้ในเวลา 6-18 เดือน

ตำแหน่งที่ฟันผุง่ายมี 2 จุดคือ ฟันน้ำนมซี่หน้าบนจะผุได้ง่ายกว่าฟันหน้าล่าง บริเวณที่พบมากคือคอฟันที่อยู่ติดกับเหงือกเนื่องจากเด็กดูดนม รวมถึงเป็นบริเวณที่มีน้ำลายไหลผ่านน้อย การชะล้างตามธรรมชาติจากน้ำลายจึงทำได้ไม่ดีนัก ขณะที่ฟันหน้าล่างอยู่ใกล้รูเปิดของต่อมน้ำลายใต้ลิ้น น้ำลายจึงหลั่งออกมาชะล้างฟันได้มากvอีกจุดก็คือฟันกราม ด้านบดเคี้ยวมีหลุมและร่องฟันลึก บริเวณซอกฟันระหว่างฟัน 2 ซี่ก็เป็นตำแหน่งที่ผุได้ง่าย เพราะปลายขนแปรงสีฟันเข้าไปทำความสะอาดได้ยาก โดยเฉพาะเด็กที่ดูดนมจากขวด ทำให้ฟันแช่อยู่ในนมนาน ยิ่งเป็นนมหวานฟันก็จะผุง่ายขึ้น

เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุ 12-18 เดือน ควรฝึกให้เด็กดื่มนมจากถ้วย เพราะระยะเวลาที่ใช้ในการดื่มนมจากถ้วยน้อยกว่าการดื่มนมจากขวด เวลาที่นมตกค้างในช่องปากจึงลดลงไปด้วย และหลีกเลี่ยงนมรสหวาน

เด็กๆ ส่วนใหญ่จะกลัวหมอฟัน เนื่องจากเด็กจะจินตนาการว่า หมอฟันใส่หน้ากากปิดปากน่ากลัวแถมมีอุปกรณ์แปลกๆ มากมาย รวมไปถึงการทำฟันจะทำให้เด็กเจ็บปวดได้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบหมอฟันตั้งแต่ลูกยังไม่มีฟันผุ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับหมอฟัน เก้าอี้ทำฟัน และเครื่องมือชนิดต่างๆ ของคุณหมอ ในการตรวจครั้งแรกลูกจะได้นั่งเก้าอี้ของหมอฟัน หมอจะเปิดไฟส่องดูฟัน และใช้กระจกเล็กๆ ช่วยเข้าไปส่องดู และคุณหมอจะขัดฟันให้เด็กด้วยหัวขัดยางกับผงขัด เพื่อให้เด็กเริ่มรู้จักเครื่องมือที่หมุนๆ มีเสียง และการใส่เครื่องมือเข้าไปในช่องปาก เมื่อคุ้นเคยและไม่ได้เจ็บตัวตั้งแต่พบกันครั้งแรก ก็จะช่วยทำให้อาการกลัวหมอฟันไม่เกิดขึ้นได้ 



kids_momypedia

โรคหวัด

โรคหวัดจัดเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบน และเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก แม้ในเด็กแข็งแรงทั่วไปอาจจะพบได้ถึงปีละ 6-8 ครั้ง และมักจะเป็นในช่วง 2 ขวบปีแรก ซึ่งจะพบได้บ่อยในเด็กเล็ก เด็กที่ไม่แข็งแรง เด็กที่น้ำหนักน้อย เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแออัด เด็กที่นำไปฝากเลี้ยงไว้ในเนอสเซอร์รี่หรือเดย์แคร์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งเด็กที่เริ่มไปโรงเรียนด้วย

สาเหตุของหวัดส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 200 ชนิด โดยมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เพราะว่าโรคหวัดเกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เมื่อไปเจอคนมากขึ้น เด็กอาจจะอยู่กับคนหลายๆ ภาวะมีทั้งสบายดีและไม่สบายด้วยโรคต่างๆ โอกาสที่จะติดเชื้อจึงมากขึ้นตาม หรือในบางครอบครัวที่พี่คนโตไปโรงเรียน ก็จะพบว่าน้องคนเล็กที่ยังอยู่ในบ้านก็เป็นหวัดบ่อยขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นของฝากจากพี่ๆ ที่ไปโรงเรียนแล้วก็ได้ โดยพี่อาจจะไปสัมผัสกับเพื่อนคนอื่นที่ไม่สบายแล้วเอามาติดน้อง

แต่ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่าจะให้คุณพ่อคุณแม่เก็บลูกหลานไว้ในบ้าน เพราะจากการศึกษาพบว่าเมื่อเด็ก ไปโรงเรียนและเติบโตขึ้น โอกาสติดเชื้อหรือเป็นหวัดจะน้อยลงตามไปด้วย อาจจะเป็นเพราะภูมิต้านทานของเด็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้นด้วย

ลักษณะอาการ
หวัดจะทำให้เกิดอาการในเด็กเล็กรุนแรงมากกว่าในเด็กโตหรือในวัยผู้ใหญ่ โดยจะแบ่งลักษณะอาการดังนี้
    • เด็กเล็ก - มักเริ่มต้นด้วยอาการไข้เฉียบพลัน ร้องกวนโยเย หงุดหงิด จาม และมีน้ำมูกไหลตามมา ซึ่งในช่วงแรกลักษณะน้ำมูกจะใส มักมีอาการแน่นคัดจมูก เกิดอาการหายใจลำบาก มีเสียงดัง กินนมได้น้อย และเหนื่อยเร็วเวลาดูดนม หรือบางครั้งอาจจะมีอาเจียนตามมาหลังกินนม นอกจากนี้โรคหวัดยังทำให้เกิดอาการเจ็บคอและไอร่วมด้วย
    • เด็กโต - มักจะเริ่มด้วยอาการแห้งแสบจมูกหรือคอหอย ตามด้วยจาม ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว มีน้ำมูกใส ไอ อาจมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย โดยภายใน 1-2 วัน น้ำมูกและเสมหะจะเปลี่ยนเป็นเหนียวข้นมากขึ้น ทั้ง นี้เชื้อไวรัสบางชนิดนอกจากจะทำให้เกิดอาการของระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังทำให้เกิดอาการของระบบทางเดินอาหารได้ด้วย เช่น ทำให้อาเจียน และท้องเสียร่วมด้วยก็ได้


โรคหวัดประเภทต่างๆ
        • เกิดจากติดเชื้อเรื้อรัง - เด็กๆ บางคนจะมีลักษณะอาการหวัด โดยน้ำมูกเปลี่ยนจากสีใสขาวขุ่น มาเป็นเหลืองและเขียวข้น เราอาจจะต้องนึกถึงสาเหตุอื่นด้วย เช่น ภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือมีการติดเชื้อของอวัยวะอื่นที่ยังไม่ได้รับการรักษา เช่น การติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองในช่องคอ (ต่อมทอนซิล หรือต่อมอดีนอยด์ขนาดใหญ่) ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินของเสมหะหรือเยื่อเมือกปกติ การติดเชื้อโรคเรื้อรังบางชนิด หรือแม้กระทั่งการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ เช่น เด็กอาจนำเม็ดพลาสติกหรือเมล็ดถั่วยัดใส่จมูกระหว่างเล่น ทำให้เกิดอาการอุดตันและมีการติดเชื้อตามมา
        • การกินยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อโรคไม่ครบ พออาการดีขึ้น น้ำมูกเริ่มแห้ง คุณพ่อคุณแม่บางคนก็จะหยุดให้ลูกกินยา เพราะรู้สึกว่าลูกกินยายากจึงไม่อยากให้ลูกกินต่อไปอีก การทำอย่างนี้จะก่อปัญหาทำให้การติดเชื้อนั้นไม่หายขาด ทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น จำเป็นจะต้องใช้ยาที่สูงขึ้นมีราคาแพงขึ้นโดยไม่มีความจำเป็น ดังนั้นควรให้ลูกกินยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบจะดีที่สุด
        • เกิดจากภาวะภูมิแพ้ - เป็นโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาไวเกินของร่างกาย ทำให้มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุโพรงจมูก ทำให้คนไข้เกิดอาการคัน จาม น้ำมูกไหล รวมถึงอาการคัดแน่นจมูก ซึ่งจะพบมากขึ้นในเด็กโต และในปัจจุบันประเทศไทยก็มีอุบัติการณ์ของโรคนี้มากขึ้นด้วย อาจเกี่ยวข้องกับมลภาวะหรือมลพิษทางอากาศ เพราะการที่สังคมมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ทำให้คนอยู่กันหนาแน่นมากขึ้น มีการจราจรที่แออัดติดขัด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดโรคหวัดจากภูมิแพ้มากขึ้น ทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งนั่นคือกรรมพันธุ์ รวมทั้งการเลี้ยงดูด้วย
        • เกิดจากภาวะอื่นๆ - เด็กบางคนอาจจะมีความบกพร่องของอวัยวะที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ผนังกั้นจมูกเบี้ยวหรือผิดรูป มีการทำงานของขนพัดโบกในเยื่อบุจมูกผิดปกติ รวมถึงภาวะภูมิต้านทานของร่างกายบกพร่องหรือผิดปกติ โรคประจำตัวอื่นๆ ภาวะขาดสารอาหาร หรือน้ำหนักตัวน้อย ฯลฯ ก็อาจเป็นทั้งปัจจัยหลักและปัจจัยเสริมที่ทำให้เด็กมีอาการของหวัดเรื้อรังได้
การดูแลลูกเบื้องต้นเมื่อหวัดมาเยือน
        • ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และงดเล่นหรือออกกำลังกายในช่วงที่เป็นหวัด
        • กินอาหารที่มีประโยชน์ อาจเป็นอาหารอ่อนๆ อย่างข้าวต้มหรือโจ๊ก ฯลฯ โดยให้มีคุณค่าแก่ร่างกายให้ครบทั้ง 5 หมู่
        • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากการที่มีไข้ขึ้นสูง และยังช่วงลดความหนืดข้นของน้ำมูกและเสมหะ
        • ควรพาลูกไปพบแพทย์เมื่อมีไข้สูงหรืออาการไม่ดีขึ้นเลย และต้องดูแลให้ลูกปฏิบัติตัวตามคำแนะนำและกินยาตามที่แพทย์สั่งจนครบ
        • หมั่นตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนตามนัด เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบหายใจอื่นๆ
        • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ งดดื่มน้ำเย็นหรืออาบน้ำเย็น เพราะจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย
        • เด็กเล็กต้องคอยเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นเสมอ ป้องกันไม่ให้ไข้สูงขึ้นเพราะลูกอาจชักได้
        • หลายคนเชื่อว่ากินวิตามินซี จะป้องกันโรคหวัดได้แต่จริงๆ แล้วยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนมากเพียงพอว่าสามารถป้องกันโรคหวัดได้
จุดสังเกตอาการหวัดในเด็กที่ควรพบแพทย์
        • เป็นหวัดนานกว่า 10 -14 วัน
        • น้ำมูกข้นเขียว
        • มีไข้อยู่นาน และอาจจะไข้สูงจนชัก
        • มีอาการหอบ หายใจแรง หายใจหน้าอกบุ๋ม มองดูว่าเขียว มือเท้าเย็น มีอาการหายใจดังทั้งช่วงการหายใจเข้า หรือหายใจออกมีเสียงดังได้ยินเสียงวี๊ด
        • มีอาการซึม กินอาหาร น้ำ ดื่ม นมได้น้อย มีอาการแห้งขาดน้ำ
ท้องเสีย
หากลูกอึเหลวเป็นน้ำไม่มีกากเกิน 3 ครั้งต่อวันถือว่าเข้าข่ายท้องเสีย อาการถ่ายบ่อยทางการแพทย์เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการมีสารที่ทำให้ลำไส้ทำงานมากขึ้น จึงทำให้เด็กถ่ายบ่อยขึ้นตามไปด้วย บางทีอาจเป็นเพราะเด็กดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำหวานที่มีการเติมสารให้ความหวาน ซึ่งน้ำตาลเมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้มีน้ำอยู๋ในโพรงลำไส้เพิ่มขึ้น และส่งผลให้อุจจาระดูเหลวผิดปกติได้

สาเหตุลูกน้อยท้องเสีย
1. ติดเชื้อในทางเดินอาหาร
สาเหตุนี้พบบ่อยมากในเด็กเอเชีย ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาดและมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ ทำให้มีการขับถ่ายผิดปกติ บางครั้งมีไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย การติดเชื้อจะมีทั้งติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ถ้าติดเชื้อไวรัส จะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอ หวัด มีน้ำมูก พร้อมๆ กับอาการท้องเสีย ส่วนติดเชื้อแบคทีเรียจะไม่เป็นหวัด ซึ่งการติดเชื้อยังเป็นสาเหตุของโรคลำไส้ บิด หนอนพยาธิ ฯลฯ

กลุ่มนี้อันตรายที่สุดเพราะเด็กท้องเสียจนมีภาวะการขาดน้ำ และแร่ธาตุบางอย่างไป
        • ถ้าขาดน้ำน้อยจะมีอาการปากแห้ง
        • ถ้าระดับปานกลางจะปากแห้ง ตาลึกโบ๋ เด็กเล็กที่กระหม่อมยังไม่ปิด กระหม่อมส่วนหน้าจะบุ๋มลงไป เริ่มปัสสาวะน้อยลง
        • ถ้าขาดน้ำรุนแรงมากเด็กจะช็อค ตัวเย็น ชีพจรเบา-เร็ว ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้สารอาหารทางเส้นเลือด ถ้าหากช้าอาจเสียชีวิตได้
        • หากเป็นเชื้อแบคทีเรียเด็กต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อโรคด้วย แต่ถ้าเชื้อไวรัสไม่จำเป็นต้องรับยาปฏิชีวนะ เพราะร่างกายจะกำจัดเชื้อไวรัสออกไปเองได้

2. ผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ

เมื่อเด็กมีความจำเป็นที่ต้องรับการรักษาโรคอื่นๆ ด้วยยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันนาน ยาปฏิชีวนะที่กินจึงส่งผลข้างเคียงทำให้มีการถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือท้องเสีย การรักษาจะคล้ายกลุ่มติดเชื้อทางเดินอาหาร คือแก้ไขภาวะการขาดน้ำ โดยส่วนใหญ่อาการท้องเสียจะหยุดไปเอง แต่ถ้าบางรายท้องเสียรุนแรงจริงๆ จำเป็นต้องหยุดยาปฏิชีวนะ แล้วเปลี่ยนเป็นการรักษาด้วยยากลุ่มอื่นแทน


3. การอักเสบของทางเดินอาหารที่ไม่ใช่จากเชื้อโรค

ค่อนข้างพบบ่อยในเด็กโซนยุโรป โรคนี้เกิดจากความความผิดปกติของภูมิต้านทาน อาจจะมีภูมิต้านทานใดเกินจึงมีการอักเสบของทางเดินอาหารซึ่งแพทย์ก็ไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัด คนไข้จะมีอาการท้องเสียเรื้อรัง เนื่องจากมีการอักเสบและมีแผลในกระเพาะอาหาร มีการสูญเสียเลือด ตัวซีด เพราะสูญเสียโปรตีน บวมและน้ำหนักลด การรักษาจะลดการอักเสบของทางเดินอาหาร โดยใช้ยากดภูมิต้านทานของร่างกาย ยาต้านการอักเสบ และการประคับประคองโดยโภชนาการที่เหมาะสม


การดูแลลูกเมื่อมีอาการท้องเสีย
        • ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โดยดื่มประมาณ 2-3 ออนซ์ ต่อเมื่อลูกถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ 1 ครั้ง หากถ่ายเพียงเล็กน้อยหรือกะปริดกะปรอย ไม่จำเป็นต้องให้สารละลายเกลือแร่ชดเชยก็ได้
        • เพื่อป้องกันการขาดอาหาร ควรให้ลูกกินครั้งละน้อยแต่ให้บ่อยๆ เพื่อให้ลำไส้ค่อยๆ ย่อยและดูดซึมอาหารได้ทัน
        • ไม่จำเป็นต้องหยุดนมแม่
        • เด็กที่กินนมผสม หลังดื่มสารละลายเกลือแร่ 4-6 ชั่วโมงแล้วให้กินนมตามปกติ ไม่จำเป็นต้องชงนมเจือจาง แต่ควรให้กินนมในปริมาณที่น้อยลงและถี่กว่าปกติ
        • งดอาหารย่อยยาก โดยเฉพาะอาหารไขมันสูง งดน้ำผลไม้และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพราะอาจจะทำให้ถ่ายบ่อยขึ้น
โดย Momypedia
- See more at: http://www.momypedia.com