ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ ปี2557




คำอธิบาย

1. วัคซีนบีซีจี 

    1) ฉีด  0.05-0.1 มล. (ขึ้นกับชนิดของวัคซีน) ในชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย
    2) ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้นและไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีนบีซีจี มาก่อน ให้ฉีดได้ทันที
    3) หากเคยได้รับวัคซีนบีซีจีมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ไม่มีแผลเป็น

2. วัคซีนตับอักเสบบี  
    1) เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างน้อย 3 ครั้งถ้าไม่มีข้อห้ามและเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ  6 เดือน
    2) ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นลบ หรือไม่ทราบ ให้ฉีดวัคซีน จำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และอายุ 6 เดือน
    3) ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
    4) ถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวกแต่ไม่มี HBIG ควรให้วัคซีนครั้งที่ 1 ภายใน 12 ชม. หลังคลอด  ครั้งที่ 2 และ 3 ให้เมื่ออายุ 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
    5) ในกรณีที่มาทราบภายหลังว่ามารดามี HBsAg เป็นบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าทารกได้รับวัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วัน
    6) ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด(หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้ โดยถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวก และทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีแบบเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย (รวมเป็น 5 ครั้ง)
    7) ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ  ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่
    8) เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของโรค (HBsAg +) อาจพิจารณาให้ตรวจ HBsAg และ anti-HBs เมื่ออายุประมาณ

3. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน 
    1) สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์ (DTaP) แทนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ได้ทุกครั้ง
    2) หากใช้ DTaP ควรใช้ชนิดเดียวกันทั้งสามครั้งเมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน หากไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ให้ใช้ชนิดใดแทนก็ได้
    3) สำหรับเข็มกระตุ้นที่ 18 เดือน  อาจใช้ DTwP หรือ DTaP ชนิดใดก็ได้
    4) เมื่ออายุ 4-6 ปี อาจใช้ DTwP, DTaP หรือ Tdap ก็ได้
    5) เด็กอายุ 11-12 ปี ควรได้รับการฉีด Td หรือ Tdap ไม่ว่าจะเคยได้รับ Tdap เมื่ออายุ 4-6 ปี มาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี
    6) สำหรับการฉีดกระตุ้น Td ทุก 10 ปี ในผู้ใหญ่ ควรพิจารณาใช้ Tdap แทน Td หนึ่งครั้ง

4. วัคซีนโปลิโอ 
    1) สามารถใช้ชนิดฉีด (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรูปของวัคซีนรวมกับคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน) แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
    2) หากใช้ชนิดฉีดอย่างเดียวโดยตลอด อาจให้เพียง 4 ครั้ง โดยงดเมื่ออายุ 18 เดือนได้
    3) หากใช้ชนิดกินสลับกับชนิดฉีด ต้องให้ 5 ครั้งตาม OPV
    4) การให้วัคซีนโปลิโอมากกว่าที่กำหนด ไม่มีข้อเสีย และสามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้

5. วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม  
    1) ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 -12 เดือนขึ้นไป และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี โดยควรพิจารณาให้ฉีดเร็ว (อายุ 9 เดือน) ในที่ที่ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และควรฉีดช้า (อายุ 12 เดือน) ในที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อยในเด็กต่ำกว่า 1 ปี
    2) การฉีดเข็มที่ 2 อาจให้ได้ตั้งแต่อายุ 2 ½ ปี ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข (จากการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 1-2556 วันที่ 28 มกราคม 2556)
    3) ในกรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มสองเร็วขึ้นก่อนอายุ 4 ปีได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    4) ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ในทุกครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อน อย่างน้อย 1 เดือน และห่างจากวัคซีน VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

6. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี  
    1) วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine) ปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ mouse-brain derived vaccine (MBV) ซึ่งอยู่ในแผนฯ ของกระทรวงสาธารณสุข และสายพันธุ์ P3 เพาะเลี้ยงใน vero cell (JEVAC®) ทั้งสองชนิดฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 9-18 เดือน เข็มต่อมา อีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปีตามลำดับ และสำหรับ MBV อาจพิจารณาให้ฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้งห่างจากเข็ม 3 อย่างน้อย 4-5 ปี
    2) วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ใช้สายพันธุ์ SA 14-14-2 ให้ฉีด 2 ครั้ง มี 2 ชนิด คือ CD-JEVAX® เริ่มฉีดที่อายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 3-12 เดือนต่อมา อีกชนิดคือ Chimeric JE (IMOJEV®)  เริ่มฉีดที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 12-24 เดือนต่อมา  สามารถใช้วัคซีนชนิด live JE แทนชนิด MBV ได้ ทั้งในการฉีดชุดแรก และการฉีดกระตุ้น
    3) ยังไม่มีข้อมูลการใช้ live JE ต่างชนิดทดแทนกัน
    4) ในกรณีที่เคยได้รับ MBV มาก่อน และต้องการฉีดต่อด้วย live JE vaccine ให้พิจารณาฉีดตามตาราง
ประวัติการฉีดวัคซีน MBV ในอดีตข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน live-attenuated JE
1 เข็มฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-24 เดือน (แล้วแต่ชนิดของวัคซีน)
2-3 เข็มฉีด 1 เข็ม ห่างจากเข็มสุดท้าย 1 ปี
> 4 เข็มไม่จำเป็นต้องฉีดอีก

http://blogs.terrapinn.com/vaccinenation/2012/09/11/development-solid-injectable-formulations/


7. วัคซีนฮิบ 
    1) ปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิด คือ conjugate กับ PRP-T และ HbOC ในเด็กไทยแนะนำให้ 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน
    2) การฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กแข็งแรง แต่ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง
    3) ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮิบในเด็กปกติที่อายุ 2 ปีขึ้นไป
    4) หากเริ่มฉีดช้า ให้พิจารณาฉีดตามตาราง
      อายุที่เริ่มฉีดเดือนที่ของการฉีด PRP-T, HbOC
     2-6  เดือน0, 2, 4, ฉีดกระตุ้นอายุ 12-18 เดือน 
     7-11 เดือน0, 2, ฉีดกระตุ้นอายุ 12-18 เดือน 
     12-24 เดือน เข็มเดียว
     > 24 เดือน เฉพาะผู้ที่เสี่ยง*    0, 2

หมายเหตุ อาจไม่จำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นในเด็กไทย *ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคฮิบ เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มก้นบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ

8. วัคซีนตับอักเสบเอ 
    1) มี 2 ชนิด คือ formalin-inactivated vaccine และ virosome vaccine
    2) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน อาจใช้ต่างชนิดได้ในการฉีดแต่ละครั้ง

9. วัคซีนอีสุกอีใส 
    1) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกอายุ 12-18 เดือน
    2) อาจพิจารณาให้ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี อาจฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปีได้ในกรณีที่มีการระบาด โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    3) พิจารณาให้ฉีดวัคซีนนี้แก่เด็กทุกคนที่อายุมากกว่า 1 ปีที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส
    4) ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
    5) ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ในทุกครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อน อย่างน้อย 1 เดือน และห่างจากวัคซีน VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

10. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 

    1) พิจารณาให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 18 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง เช่น เด็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (รวมหอบหืด) โรคหัวใจ โรคอ้วนที่มี BMI > 35 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรัง เป็นต้น
    2) ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดในครั้งแรกต้องฉีดสองเข็มห่างกัน 1 เดือน ในกรณีที่ปีแรกได้ฉีดไปเพียงครั้งเดียว ปีถัดมาให้ฉีดสองครั้ง จากนั้นจึงสามารถฉีดปีละครั้งได้
    3) ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง (0.25 มล.)

11. วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต 
    1) ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ชนิดรุกราน (invasive disease) หรือรุนแรง (severe) ดังตารางและในเด็กแข็งแรงปกติที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ประสงค์จะป้องกันโรค
    2) ในปัจจุบันมีวัคซีน ชนิด 10 สายพันธุ์ (PCV10) และ 13 สายพันธุ์ (PCV13) ให้ 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นที่อายุ 12-15 เดือน โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน หากเริ่มฉีดช้าให้ฉีดตามตาราง
    3) ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ในกรณีที่ได้มีการฉีดวัตซีน PCV7 ครบแล้ว 4 ครั้ง พิจารณาให้ฉีด PCV13 อีก 1 ครั้ง ห่างจาก PCV7 เข็มสุดท้ายอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เพิ่มเติมขึ้น
อายุที่เริ่มฉีดจำนวนครั้งที่ฉีดการฉีดกระตุ้น
2-6 เดือนPCV 3 ครั้ง ห่างกัน 6-8 สัปดาห์PCV 1 ครั้ง อายุ 12-15 เดือน
7-11 เดือนPCV 2 ครั้ง ห่างกัน 6-8 สัปดาห์  PCV 1 ครั้ง อายุ 12-15 เดือน
12-23 เดือนPCV 2 ครั้ง ห่างกัน 6-8 สัปดาห์ไม่ต้องฉีด
เด็กปกติ 24-59 เดือนPCV10 ให้ 2 ครั้ง PCV13 ให้ 1 ครั้งไม่ต้องฉีด
-เด็กเสี่ยง *อายุ 24-71 เดือน
-> 71 เดือน   
PCV13 2 ครั้ง ห่างกัน 8 สัปดาห์
PCV13 1 ครั้ง
ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1 เข็มห่างจาก PCV
เข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์

หมายเหตุ:
- PCV = Pneumococcal conjugate vaccine, PS-23 = 23-Valent pneumococcal polysaccharide vaccine
- *เด็กเสี่ยง คือเด็กที่มีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสอย่างรุนแรงมากกว่าเด็กปกติ ได้แก่เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากสาเหตุต่างๆ ภาวะไม่มีม้าม ธาลัสซีเมืย โรคเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต เบาหวาน และโรคที่เสี่ยงต่อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น CSF leak, cochlear implantation
- สำหรับเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันไม่จัดในกลุ่มเสี่ยงแต่อาจพิจารณาให้วัคซีนได้
- *ในเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ควรได้รับวัคซีน PCV13 ดังตาราง และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรให้ฉีดวัคซีน PS-23 ด้วยเสมอ ไม่ว่าจะสามารถฉีด PCV ได้หรือไม่ก็ตาม และหากเป็นเด็กเสี่ยงประเภท ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะไม่มีม้าม หรือธาลัสซีเมีย ควรฉีด PS-23 ซ้ำอีก 1 ครั้ง ห่างจากครั้งแรก 5 ปี การฉีด PCV ก่อน แล้วตามด้วย PS-23 จะให้ผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการฉีด PS-23 เพียงอย่างเดียว หรือฉีด PS-23 แล้วตามด้วย PCV
-ในเด็กปกติ อาจพิจารณาให้ฉีดแบบ 2+1 (รวมเป็นการฉีด 3 ครั้ง) คือฉีดเมื่ออายุ 2, 4, และ 12-15 เดือน

12. วัคซีนโรต้า
    1) ชนิด monovalent ให้กิน 2 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน
    2) ชนิด pentavalent ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน
    3) วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน โดยแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
    4) ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ แต่หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
    5) สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
    6) ห้ามใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency (SCID) และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน

13. วัคซีนเอชพีวี 
    1) มี 2 ชนิดคือ ชนิด 2 สายพันธุ์ (bivalent มีสายพันธุ์16, 18) และชนิด 4 สายพันธุ์ (quadrivalent มีสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18)
    2) แนะนำให้ฉีดในหญิง อายุ 9-26 ปี (เน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี) โดยฉีด 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1-2, และ 6
    3) ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
    4) การฉีดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 26 ปี อาจพิจารณาให้ได้เป็นกรณีๆไป
    5) การฉีดในเด็กผู้ชาย พิจารณาให้ฉีดเฉพาะชนิด 4 สายพันธุ์ ในช่วงอายุ 9-26 ปี โดยเน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี และในกลุ่มชายรักชายอายุ 9-26 ปี

ที่มา : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

 Credit picture : http://science.cabot.ac.uk/?p=783

เมื่อลูกน้อยนอนกรน : อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

พ่อแม่หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะการนอนกรนไม่ได้เกิดกับลูกของเราเพียงคนเดียว แต่อย่างเพิ่งชะล่าใจ เพราะการนอนกรนในแบบที่เป็นอันตราย อาจจะใช่สิ่งที่ลูกน้อยของคุณกำลังเผชิญอยู่




 พญ.อุมาพร พนมธรรม แพทย์โสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวถึงการนอนกรนในเด็ก ว่ามีสาเหตุหลักๆ มาจากการอุดกลั้นของทางเดินหายใจ ให้ลมหายใจเข้ายาก ร่างกายจึงพยายามที่จะสร้างแรงเยอะๆ เพื่อให้ลมเข้า ก็เลยเกิดเป็นเสียงผิดปกติ เรียกว่าการนอนกรน

       
       “สาเหตุการนอนกรนก็แบ่งได้จาก หนึ่ง สรีระใบหน้า คือมีโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสรีระใบหน้าหรือเปล่า เช่น ความผิดปกติของพันธุกรรม หรือความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด เช่น เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม พวกนี้ใบหน้าจะผิดปกติ แล้วลิ้นก็ผิดระยะ ส่งผลให้ทางเข้าของลมหายใจมีน้อย อีกกลุ่มหนึ่งก็คือในกลุ่มที่กรามเล็ก หรือกรามหดเข้าไปข้างใน ทำให้ช่องทางเดินหายใจเล็กลง และสุดท้ายคือกลุ่มที่ต่อมท่อน้ำเหลืองรอบทางเดินหายใจมีขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มที่ต่อมทอนซิลอะดีนอยด์โต รวมถึงโพรงจมูกอุดกลั้น เช่นในกลุ่มเด็กที่เป็นภูมิแพ้
       
       พญ.อุมาพร บอกว่า ในกลุ่มอาการนอนกรน ก็จะมีการแบ่งเป็นการนอนกรนเฉยๆ หรือนอนกรนที่มีการอุดกลั้นทางเดินหายใจ ซึ่งถ้าเป็นการนอนกรนเฉยๆ ไม่ต้องรักษา เพราะว่ากลุ่มนี้จะไม่มีการทำให้สารเคมีในเลือดผิดปกติ แต่ถ้าเป็นการนอนกรนอีกแบบที่มีการอุดกลั้นทางเดินหายใจ อันนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรักษา
       
       แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเรานอนกรนแบบไหน อันตรายหรือไม่อันตราย?
       
       “สังเกตด้วยการดูการหายใจ เช่น ลูกอ้าปากหายใจ เพราะจมูกหายใจเข้าไปไม่พอหรือเปล่า อันดับต่อมาคือหายใจแบบกระสับกระส่าย เหมือนนอนหลับไม่สนิท เหมือนกับว่าถ้าอากาศเข้าสู่ร่างกายน้อย ทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง คาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น เลือดเป็นกรด ระบบสารเคมีในร่างกายผิดปกติ ร่างกายจะมีเซลล์ตอบรับว่าหายใจไม่พอเลยต้องกระตุ้นให้ตื่น ตื่นในขณะหลับก็ทำให้เด็กกระสับกระส่าย เหมือนหลับแต่ไม่ได้พักผ่อน
       
       “อันดับต่อมา เหงื่อจะออกมาก หายใจในขณะหลับแล้วจะรู้สึกเหนื่อย บางครั้ง เด็กจะมีการปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำในช่วงกลางคืน และอันดับสุดท้ายที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือ หายใจเข้าแล้วหน้าอกยุบแต่ท้องป่องซึ่งถือว่าผิดปกติ เพราะปกติเวลาคนเราหายใจเข้าแล้วหน้าอกต้องขยายแต่ท้องยุบ ส่วนช่วงกลางวัน เด็กมักอ้าปากหายใจ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง บางครั้งนั่งง่วงเหมือนไม่สดชื่น เด็กบางคนพฤติกรรมเปลี่ยน ก้าวร้าว รวมทั้งเด็กบางคนเหมือนเลี้ยงไม่โต เพราะหุ่นมักจะผอมๆ แล้วตอนเช้ามักจะปวดศีรษะ เหมือนไม่ได้หลับทั้งคืน ปวดศีรษะไปโรงเรียนไม่ไหว” พญ.อุมาพร กล่าว
       
       การนอนกรนจึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่างที่หลายคนคิด ดังนั้น หนทางที่ดีที่สุดเมื่อพบว่าลูกน้อยของเรามีการนอนกรน ควรได้รับการตรวจเช็กจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

ที่มา : http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000135670